ไส้แฟ้ม ซองเมนู แบบไหนทน ?

ซองแฟ้มเมนู แบบไหนทน? / Tips to choose Plastic Menu inserts

เริ่มจากการข้อจำกัด ซองแฟ้มเมนู

ผมเป็นอีกคนที่ค้นหา "ไส้แฟ้ม ซองใสใส่แฟ้มเมนูที่หนาๆ ทนๆ มานาน" ที่เคยเจอเป็นไส้แฟ้มเอกสาร แบบซองพลาสติกนั้นบางเหลือเกินใช้ไปนานๆ ก็ขาด ส่วนหน้าที่เหลือไม่ใส่กระดาษก็ยับ ไม่น่าดู เพราะแฟ้มเอกสารกำหนดมาตายตัว 10, 20, 40 ซองเท่านั้น เวลาที่ผมออกแบบเมนูให้ที่ร้านอาหารของแม่ ก็อัดกันให้ได้ 10ซอง 20หน้าเท่านั้น หรือไม่ต้องก็ขยายไปถึง 20ซอง 40หน้า ซึ่งนั้นมันก่อนมากเกินไปที่ลูกค้าร้านอาหารจะเปิดหมด (เมนูหน้าเยอะเกินไปก็ทำให้ลูกค้ามึน จำหน้าจำหลังไม่ได้) จนผมหันมาทำ ไส้แฟ้มเมนูแบบจริงจัง ก็เรียนรู้ว่า พลาสติกแบบไหนเหมาะสมกับการเป็น “ซอง” ที่เกิดมาเพื่อ “แฟ้มเมนู”

ไส้แฟ้มเมนู แบบซองพลาสติก PE

ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก แบบนี้เราคุ้นเคยกันดี โดยใช้ใน แฟ้มโชว์เอกสารสำเร็จรูป ที่ fix จำนวน 10ซอง, 20ซอง และ 40ซอง และซองเอกสารแบบ 11 รู แพ็คเป็นชุดขาย ซึ่งหาซื้อได้ตามห้าง ร้านเครื่องเขียน และร้านหนังสือทั่วไป

ข้อดี ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PE

  • เนื้อใส ภาพอาหารสีแทบจะไม่ดร๊อป เลย ทำให้ภาพอาหารในเมนู ดูสดสวย ด้วย เนื้อซองพลาสติกใสมากๆๆโดยมีให้เลือกทั้ง ซองแบบเนื้อใส และซอง PE แบบเนื้อเม็ดขุ่นเล็กน้อย ที่สีดร๊อปลงเล็กน้อย
  • สอดเอกสารง่าย แผ่นเมนูง่าย ด้วย ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PE มีความบางเบา ทิ้งตัวปานกลาง ช่องระหว่างแผ่นพลาสติกจะไม่มีไฟฟ้าสถิตย์
  • หาซื้อง่าย ประหยัด โดยซองเอกสารแบบนี้ หาซื้อได้ตามห้าง และราคาย่อมเยา

ข้อเสีย ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PE

  • พลาสติกเนื้อบาง เนื่องด้วย ความหนาพลาสติก PE ที่มาใช้ทำซองเอกสาร โดยแฟ้มเอกสารส่วนมากใช้ซองPE หนา 50ไมครอน, ส่วนแฟ้มเอกสารราคาถูกๆ ก็ใช้ซองเนื้อบางๆ 30ไมครอน ส่วนซองขายเป็นแพ็ค ก็พอจะมีขายแบบซองหนา 90 ไมครอน ซึ่งพอจะใช้กับแฟ้มเมนูอาหารได้บาง แต่มีขายในร้านน้อยมาก หายากพอควร
  • ยับง่าย เก่าง่าย เมื่อพอผ่านการใช้งาน โดยเมื่อไส้แฟ้มซองพลาสติก PE ยับแล้วไม่คืนตัว ทิ้งรอยเป็นเส้น ดูไม่ดี look cheap

เมื่อใช้งาน ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PE กับ เล่มเมนู

จากข้อดีของซอง PE ที่บางเบา เนื้อใส ราคาถูก หาซื้อง่าย จึงเป็นที่นิยมอันดับต้นๆ สำหรับร้านอาหารใช้กับ เล่มเมนู ทั้งนี้จากการที่ซอง PE ยับง่าย ดูเก่า เยิ้นเร็ว Look Cheap จึงใช้ในร้านอาหารได้เพียงไม่กี่เดือน ทำให้ต้องเปลี่ยน โดยเฉพาะร้านที่ Turn over สูง ลูกค้าเข้าทั้งวัน อย่างร้านข้าวต้ม เมนูโดนพลิกเปิดวันล่ะ หลายสิบรอบ จึง "พังเร็วมากกกก" เพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์ก็ไปแล้ว

ทั้งนี้ แฟ้มเมนูที่ใช้ซอง PE ที่ราคาเบา หาซื้อง่าย จึงเหมาะสมกับร้านอาหารที่พึงเปิดใหม่ โดยเป็นเมนูเล่มชั่วคราว ใช้แก้ขัดก่อน ที่เมนูเล่มจริงที่แข็งแรง สวยงามจะคลอดออกมา

ไส้แฟ้ม ซองเอกสาร แบบ PE หนา 50-90ไมครอน ซึ่ง ซองหนา 90ไมครอน หายากพอควร

ซอง PE ใหม่ๆ ดูสวย ถ้าใช้งานหนัก จะเยิ้น พังง่าย ดูแย่

แฟ้มสำเร็จรูป ใช้ซอง PE ด้านใน เมื่อใช้เป็นเมนูพลิกดูเมนูทั้งวัน ปกโค้งงอ ซองยับ

ไส้แฟ้มเมนู แบบซองพลาสติก PP

ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PP ก็เป็นอีกแบบที่คุ้นเคย มักเรียกว่า แฟ้มซอง Clear File ใช้กันในออฟฟิศมากมาย โดยมาจะเป็นแฟ้มสอด แบบเดียวๆ ไม่เจาะรู ไม่เข้าเล่ม อีกทั้งมีสีสันสดใส พิมพ์ลายๆ สวยๆ มีให้เลือกมากมาย

ข้อดี ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PP

  • เนื้อหนา อยู่ทรงดี ตั้งตัวได้ โดย ซองพลาสติก PP มีความหนาประมาณ 100-200ไมครอน ทำให้ปกป้องแผ่นเมนูได้ดี อีกทั้งสอดเอกสาร เมนูเข้าไปได้ง่าย เพราะไม่ค่อยมีไฟฟ้าสถิตย์ ระหว่างช่องแผ่นพลาสติกที่ประกบกัน
  • หลากสีสรร พิมพ์ลายได้ จึงเป็นที่นิยมในการทำแฟ้มเอกสาร กระเป๋าพลาสติกใส่เอกสาร สีสันสดใจ ร่วมถึงทำเป็นแฟ้มซองพิมพ์ลวดลาย ถูกใจนักเรียน นักศึกษา
  • หาซื้อง่าย ราคาสบายกระเป๋า โดยไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PE ก็เป็นอีกแบบ ที่นิยมกันมา และหาซื้อได้ตามห้าง ร้านเครื่องเขียน โดยราคาสูงกว่า ซอง PE เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ข้อเสีย ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PP

  • เนื้อขุ่น ภาพอาหารสีดร๊อป ทำให้ ภาพอาหารสีจืดลง ดูไม่น่ากิน ถึงแม้ซอง PP แบบที่ใสที่สุด ยังทำให้สีภาพดร๊อปลงถึง 15-20%
  • เข้าเล่มลำบาก เนื่องจาก ซองพลาสติก PP ตามร้านเครื่องเขียน เชื่อมเข้ารูปแบบ L-Shape file จะไม่มีรู จึงเอไปเข้าเล่มไม่ได้ (โดยซองพลาสติก PP ที่มี 11รู พร้อมใส่แฟ้มเล่มนั้น ผมเคยเจอ มีเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น)
  • ยับแล้วทิ้งรอยเป็นเส้น แม้ว่า ไส้แฟ้มซองพลาสติก PP โค้งงอได้มาก และยับยากมากกกก ทำให้ดูใหม่ได้ยาวนานนน ดูดีอยู่ได้ตลอด ทั้งนี้เมื่อซองพลาสติก PP โดนพับ กดทับหนักจริงๆ ถึงจะเป็นรอยถาวร แก้ไม่หายเลย

ไส้แฟ้มซอง PP สีสวย พิมพ์ลวดลายได้ดังใจ ยังทนทานต่อการใส่เอกสาร

ซอง PP ใสที่สุด ก็ยัง"ขุ่น" อยู่ ทำให้ภาพอาหารสีดร๊อป ใส่ในเมนูจะดูไม่น่ากิน

เมื่อใช้งาน ซองพลาสติก PP กับ แฟ้มเมนู

แม้คุณสมบัติที่ดี ของ ไส้แฟ้ม ซองพลาสติกแบบ PP นั้นตรงข้ามกับ ซองแบบ PE กันสุดขั้ว!!  โดย ซองพลาสติก แบบ PP หนา ทน ปกป้องแผ่นเมนูดีมากๆๆ  ไม่ยับ ไม่เก่า อีกทั้งราคาไม่สูง ทั้งนี้ด้วยที่ความขุ่นของซอง PE และความนิยมทำเป็น L-shape file ใช้เป็น Clear File รูปแบบซองเดียวๆ มากกว่า จึงไม่นิยมนำมาทำเป็น แฟ้มเมนูที่ใช้ภายในร้านอาหาร... โดย ไส้แฟ้ม ซองแบบ PP จึงนำไปใช้กับ แท่นเมนูตั้งหน้าร้าน ก็เป็นไปได้ ด้วยการแลกความสวยใส กับ ทนทึก จึงคุ้มค่าการใช้งาน (**เตรียมพบกับ แท่นวางเมนูตั้งหน้าร้าน แบบซอง PP เร็วๆ นี้)

ทั้งนี้บ้างประเทศนั้นสามารถ ผนวกความสวยใสของ PE กับ ความทนทึกของ PP เข้าด้วยกันได้ อ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อด้านล่าง

ไส้แฟ้มเมนู แบบซองพลาสติก PVC soft

พลาสติกแบบ PVC นิ่ม เป็นที่นิยม พบเห็นได้ทั่วไป นิ่มมือ สัมผัสดี แปรรูปง่าย ใช้งานหลากหลาย หลายสี ตั้งแต่สีใส ทำไส้แฟ้มเมนูได้ ไปจน สีทึบแบบต่างๆ อีกทั้งพิมพ์ลวดลายได้ไม่ยาก ด้วยระบบซิลค์สกรีน ลองนึกถึง ซองใส่มือถือกันน้ำช่วงสงกรานต์ และ แผ่นพลาสติกห่อปกหนังสือ

ข้อดี ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PVC soft

  • หนา ทน ใช้งานหนัก โดยแผ่นพลาส้ติก PVC แบบนิ่ม มีความทนทานสูง คืนตัวได้ดี แม้โดนใช้งานหนักๆ เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง อย่างใช้แฟ้มเมนูอาหาร โดยความหนาที่เหมาะสม กับการทำ ไส้แฟ้ม ซองเมนู อยู่ที่ 100-200ไมครอน (ถ้าหนากว่านี้จะทำให้แฟ้มเมนท้้งเล่มหนักเกินไป)
  • เนื้อใส ภาพเมนูสวย  - ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PVC แบบใส จะใสมาก เมื่อทำซองเมนู ทำให้สีแทบไม่ดร๊อป ไม่ทำให้ภาพสีเพี้ยน ทั้งนี้ด้วยความันเงา อาจจะทำให้มีการสะท้อนแสงได้ 
  • สัมผัสที่ดี ดูใหม่อยู่เสมอ ด้วยธรรมชาติของแผ่นพีวีซีที่มีความนิ่ม จึงให้สัมผัสที่ดี นิ่มมือ และเวลาโดนพับ จะคืนรูปได้เกือบ 100% แทบไม่เหลือรอยยับ ดูไม่เก่า

ข้อเสีย ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PVC soft

  • เหมาะกับใช้ในห้องแอร์  ความนิ่มของ ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PVC นิ่ม เกิดจากการผสม “น้ำมัน” ซึ่งเมื่อมีน้ำมันมาก ก็จะนิ่มมาก หนังและทิ้งตัวขึ้น ซึ่งน้ำมันจะมีการระเหยออกตามธรรมชาติ เมื่อผ่านไปนานๆ จะเกิดรอยย่นเป็นคลื่น โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยา คือ “อุณหภูมิ” และเมื่อยู่ในอากาศเย็นหรือร้อนเกินไป ก็ทำให้กรอบ-แตกได้
  • สอดเมนูไม่งาน สีอาจติด โดยระหว่างแผ่นพลาสติกแนบชิดกันมาก ทำให้การสอดแผ่นเมนูไม่ลื่น ติดขัดบ้าง และการระเหยของน้ำมัน อาจทำให้สีบนกระดาษเมนูที่ใส่อยู่ ติดกับซองพลาสติก (โดยเฉพาะงานที่มากจากเครื่องพิมพ์ที่มีส่วนผสมเป็นน้ำมัน เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์)
  • หาซื้อยาก ราคาสูง จากการที่ซองพลาสติกพีวีซี ที่ประกบกัน 2แผ่นหดตัวไม่เท่ากัน จะเกิดรอยคลื่นได้ ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการขายตามห้าง ร้านเครื่องเขียนที่ต้องเก็บสต๊อกเป็นเวลานาน กว่าจะขายได้ จึงหาซื้อได้ยาก อีกทั้งราคาก็สูงกว่า เมื่อเทียบกับซองพลาสติก PE และ PP

ไส้แฟ้มซอง PVC soft เนื้อใส สัมผัสดี เพิ่มมูลค่าได้ดี ทั้งจากการแปรรูป ติดซิป, เจาะรู

ไส้ซองพลาสติก PVC soft เนื้อใส เห็นภาพอาหารชัดเจน สีแทบไม่ดร๊อป จึงนิยมใช้ทำ ซองใส่แฟ้มเมนูอาหาร

ถ้าใช้ในอุณภูมิร้อนไป / เย็นไป ทำให้พลาสติกย่นเป็นรอยคลื่น กรอบแตกได้

เมื่อใช้งาน ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก PVC นิ่ม กับ แฟ้มเมนู

แม้ว่า ซองพลาสติก PVC แบบนิ่ม จะมีการหดตัว และราคาสูงกว่า เมื่อเทียบกับความใส สีภาพอาหารไม่ดร๊อป ไม่ยับ ดูใหม่อยู่เสมอ ของ ซองพลาสติก PVC กับการใช้ใน แฟ้มเมนูอาหาร ยังเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด (ณ ตอนนี้) เกิดจาก ความเหนียว แข็งแรง ทนทาน โดยทางร้านประมาณการณ์ ระยะเวลาการใช้งาน แบบยังดูดี อย่าน้อยที่ 2-3ปี** เมื่อใช้ในห้องแอร์ และรอบการใช้ปานกลาง 

โดยทางร้าน "แฟ้มเมนู.com" จึงเลือกใช้ ไส้แฟ้ม ซองพีวีซี กับ แฟ้มเมนู รุ่น Bistro ที่ใช้ ไส้แฟ้ม ซองหนา 140ไมครอน และ แฟ้มเมนู รุ่น Klean ที่ใช้ ไส้แฟ้ม ซองหนา 200ไมครอน

ไส้แฟ้มเมนู แบบซองพลาสติก PVC Rigid (แผ่น Celluloid ใส)

แผ่นพลาสติกแบบ PVC Rigid หรือ แผ่นเซลลูลอยด์ใส แม้ความใสมาก สวยดูดี ด้วยราคาที่สูงและพิมพ์ยาก ทำให้ การใช้ใน Package ระดับพรีเมี่ยม ซึ่งแผ่นพลาสติก PVC ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ สร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้ ดู Grand กว่ากล่องกระดาษทั่วไป

ข้อดี ซองพลาสติก PVC rigid

  • แข็ง ทนงานหนัก ความหนาที่สูงกว่า แผ่นพลาสติกชนิดอื่นๆ ที่กล่าวข้างต้น แผ่นพลาสติก Rigid จึงแข็งแรง ทนทานกับการใช้งานหนัก อย่างกล่องบรรจุภัณฑ์ และแฟ้มเมนูอาหาร
  • เนื้อใส ภาพเมนูสวย ด้วยความใสมากของแผ่นพลาสติก PVC Rigid ทำให้เห็นภาพด้านหลังแผ่นได้ดีมาก แม้จจะมีการสะท้อนแสงที่สูงอยู่
  • ดูใหม่อยู่เสมอ ด้วยการทนต่อแรงขีดขวดทั่วไป พับหักยากมาก ต้องโดนแรกกระทำอย่างสูงจริงๆ เท่านั้น ถึงจะเป็นรอยขาวๆ โดยเมื่อใช้ไปในเวลายาวนานมากๆ อาจจะเป็นรอยขนแมวได้บ้าง

ข้อเสีย แผ่นแฟ้มพลาสติก PVC rigid

  • ใช้งานยาก ทำเล่มหนา เนื่องจาก แผ่นพลาสติก Rigid นั้นไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ทำเมื่อต้องการประกบ จึงใช้สื่อตัวกลาง อย่างเช่น หนังเทียมประกบ เย็บด้านข้างเข้าด้วยกันเป็นเล่ม เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้การเข้ามเล่มเป็นแฟ้มเมนูนั้นหนากว่า ซองพลาสติกประเภทอื่นๆ  อีกทั้ง แฟ้มเมนูนั้นยังไม่สามารถเพิ่ม/ลด หน้าได้
  • ดูแข็งๆ ทือๆ เมื่อนำแฟ้มเมนูที่ทำจาก แผ่นพลาสติก rigid ทำมาทำแฟ้มเมนูอาหาร จะดูแข็งๆ ทือๆ ไร้อารมณ์ เมื่อเทียบกับปกเมนูหุ้มหนัง (ผมก็มี First impression แบบนี้ อ่านเพิ่มเติมที่ ทำไมแฟ้มเมนู)
  • ราคาสูง เมื่อเทียบกับแผ่นพลาสติก PE, PP และ PVC soft (ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้) เพราะว่า ความหนาของแผ่นพลาสติก Rigid ที่หนากว่า ใช้ปริมาณพลาสติกที่มากกว่า ส่วนสิ่งที่ได้มาคือ ความทนทานที่สูงกว่ามาก

เมื่อใช้งาน ซองพลาสติก PVC rigid กับ แฟ้มเมนูอาหาร

กาใช้แผ่นพลาสติก PVC rigid ทำ แฟ้มเมนูอาหาร ด้วยการเย็บประกบด้วยหนังเทียม เข้ามุมโลหะ และจึงเย็บเข้าเป็นเล่ม จึงทำตัวเล่มเมนูนั้นใส เห็นเมนูอาหารได้ชัดเจน ทนทานต่อการเปิดบ่อยๆ เปิดดูเมนูทั้งวัน ซึ่งแพร่หลายอยู่ในยุโรป, อเมริกา, ญีุปุ่น มายาวนาน โดยในประเทศไทย เห็นการใช้แฟ้มเมนูปกใส แบบนี้ เช่น ร้าน Sizzler (เฉพาะเมนูเล่มที่วางหน้าร้าน, ส่วนในร้านใช้แบบเล่มเมนูพิมพ์) และ ร้านอาหารญี่ปุ่น (ส่วนมากร้านที่เจ้าของเป็นคนญีปุ่น) เป็นต้น

PVC Rigid ช่วยส่งเสริ่มให้ Package ดูดี โดดเด่น เพิ่มมูลค่า

แผ่น Celluloid ที่เย็บขอบหนัง ประกอบเป็นเล่ม ใช้เป็นแฟ้มเมนูที่ใสสวย เปลี่ยนแผ่นเมนูได้ง่าย

ร้านอาหารเจ้าใหญ่ เลือกใช้แฟ้มเมนูที่ทำจาก Celluloid แผ่นใส ภาพาอาหารสวย ทนทาน

แฟ้มเมนูแบบนี้ จึงเป็นที่มาของการเริ่มร้าน "แฟ้มเมนู.com" โดยเรานำเสนอทางเลือก แฟ้มเมนูที่ทำจากพลาสติก PVC rigid เป็น แฟ้มเมนู รุ่น Loft ที่มีความหนาของเล่มแฟ้มเมนู สูงสุดที่ 8แผ่น 16หน้า (หนากว่านี้จะดูเทอะทะ  ไม่สวย ใหญ่เกินไปกับการใช้งานในร้านอหาร)

ตารางเปรียบเทียบ ไส้แฟ้ม ซองพลาสติก เพื่อใช้กับแฟ้มเมนู

ประเภท ไส้แฟ้ม ซองเมนู อัตราสีดร๊อป* ความหนา (ไมครอน**) น้ำหนัก การอยู่ทรง รอยยับ / การคืนตัว ต้นทุน
ซอง แบบ PE 0-2% 30-90  ไมครอน เบามาก พลิว ยับง่าย / ไม่คืนตัว ถูก
ซอง แบบ PP 20-30% 100-200 ไมครอน เบา อยู่ตัว ยับยากมาก / ไม่คืนตัว ปานกลาง
ซอง แบบ PVC soft 0-5% 140-200 ไมครอน หนัก ทิ้งตัว ยับได้ / เป็นรอยคลื่นได้ ค่อนสูง
ซอง แบบ PVC Rigid 5% 100-500 ไมคอน หนัก อยู่ตัว ยับยากมาก / ไม่คืนตัว สูง

หมายเหตุ

*อัตราสีดร๊อป ของภาพในซอง เป็นการประมาณการณ์ ด้วยสายตา
**ความหนา 1,000ไมครอน = 1 มิลลิเมตร
***อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับ อุณภูมิ, การดูแลรักษา และปัจจัยอื่นๆ

ความก้าวหน้า ของ ไส้แฟ้ม ซองเมนู

แม้ว่า ไส้แฟ้ม ซองเมนูแบบ PVC soft และ PVC rigid นั้นเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับ แฟ้มเมนู ในประเทศไทยขณะนี้ ซึ่งในต่างประเทศเริ่มีการใช้ ซองพลาสติกแบบ PE แบบหนาขึ้น แข็งแรงขึ้น, ซองพลาสติก PP ที่ใสแบบ Super clear และ ซองพลาสติกแบบ ABS ที่เนื้อเหนียวนุ่มมือ รักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ไม่ใส 100% เนื่องด้วยข้อจำกัดในปริมาณการใช้ที่ยังน้อยมาก ประกอบกับราคาวัตถุดิบนำเข้าที่ยังสูง และการสั่งผลิตจำนวนมหาศาล จึงยังไม่มีการใช้งานพลาสติกเหล่านี้กับซองแฟ้มเมนู ในเมืองไทย

ทั้งนี้ ร้าน "แฟ้มเมนู.com" จะทำงานหนัก เพื่อนำเสนอ “ซอง” ที่เกิดเพื่อ “แฟ้มเมนู” ที่ดีขึ้นต่อๆ ไปให้กับร้านอาหารในเมืองไทยได้ใช้ อยู่เสมอ

แฟ้มเมนู ที่ใช้ซอง PVC soft และ rigid

อ่านถึงตรงนี้แล้ว ท่านที่เห็นว่า พลาสติก PVC soft และ Rigid (เซลลูลอยด์) ตอบโจทย์การใช้งาน แฟ้มโชว์เอกสาร ที่ต้องเปิดบ่อยๆ อย่าง แฟ้มเมนูอาหาร, แฟ้มทัวร์ท่องเที่ยว, แฟ้มร้านนวด ร้านสปา, แฟ้มบริษัทขายบ้าน โรงแรม ห้องเช่ และอื่นๆ สามารถเลือกแบบที่ท่านต้องการได้น่ะครับ